ข้อควรรู้ในการทวงหนี้ ภายใต้กฎหมายข้อบังคับ เป็นเรื่องที่ยังคงถกเถียงกันในสังคม ถึงประเด็นของการทวงหนี้ ที่กฎหมายกำหนด ว่าความจริงแล้ว เจ้าหนี้สามารถทวงเงินลูกหนี้อย่างไร ให้ไม่ขัดต่อข้อกฎหมาย และสามารถทำได้อย่างชอบธรรม วันนี้เราจึงจะมาแชร์ ข้อควรรู้ในการทวงหนี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวเจ้าหนี้ และลูกหนี้เอง จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันค่ะ
ข้อควรรู้ในการทวงหนี้ ภายใต้กฎหมายข้อบังคับ

หลักเกณฑ์ขั้นตอนและรูปแบบในหลักที่สำคัญ ที่มีลักษณะต้องห้ามในการทวงถามหนี้ และโทษทางอาญาตามกฎหมาย ภายใต้พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 ดังต่อไปนี้
1. ผู้ทวงถามหนี้ เจ้าหนี้ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม บัญญัติไว้ในมาตรา 3 ภายใต้พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558
2. การประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ จะต้องจดทะเบียนการประกอบธุรกิจการทวงถามหนี้ บัญญัติไว้ในมาตรา 5 และสำนักงานทนายความหรือทนายความให้คณะกรมการสภาทนายความทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนตามมาตรา 6 ภายใต้พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558
3. วันเวลาในการติดต่อ ให้ติดต่อได้ตั้งแต่ 8.00 นาฬิกา ถึงเวลา 20.00 นาฬิกา และในวันหยุดราชการ เวลา 8.00 นาฬิกา ถึงเวลา 20.00 นาฬิกา ตามมาตรา 9 พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558
4. แสดงหลักฐานการรับมอบอำนาจ ในกรณีที่ผู้ทวงถามหนี้ต้องแสดงหลักฐานการรับมอบอำนาจให้รับชำระหนี้จากเจ้าหนี้โดยต้องระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ และเมื่อลูกหนี้ได้ชำระหนี้แก่ผู้ทวงถามหนี้แล้ว ให้ผู้ทวงถามหนี้ออกหลักฐานการชำระหนี้แก่ลูกหนี้ ตามมาตรา 9 พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558

5. สถานที่ติดต่อ ในกรณีที่โดยทางไปรษณีย์ ให้ติดต่อตามสถานที่ที่ลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวไม่ได้แจ้งไว้ล่วงหน้าหรือสถานที่ที่ได้แจ้งไว้ให้ติดต่อตามภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ หรือสถานที่ทำงานของลูกหนี้ ตามมาตรา 9 พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558
6. ลักษณะที่ต้องห้ามทวงถามหนี้ดังนี้ การข่มขู่ การใช้ความรุนแรง หรือการกระทำอื่นใดที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้อื่น มีโทษหนักตามาตรา 41 ซึ่งมีโทษทางอาญา ต้องระวางโทษต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี
หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือการใช้ภาษาที่เป็นการดูหมิ่น การเปิดเผยเกี่ยวกับความเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้แก่ผู้อื่น ห้ามจัดส่งเอกสารที่แสดงออกถึงการทวงถามหนี้อย่างชัดเจนรวมถึงการใช้ข้อความ เครื่องหมาย เว้นแต่กรณีการบอกกล่าวบังคับจำนองด้วยวิธีการประกาศหนังสือพิมพ์ ตามมาตรา 11 พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 ซึ่งการฝ่าฝืนมาตรา 11 (2) (3) (4) หรือ (5) มีโทษทางอาญา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับตามาตรา 39
7. ห้ามผู้ทวงถามหนี้ติดต่อกับบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ลูกหนี้ เว้นแต่ในกรณีที่บุคคลอื่นนั้นเป็นสามี ภริยา บุพการีหรือผู้สืบสันดานของลูกหนี้ และบุคคลอื่นดังกล่าวได้สอบถามผู้ทวงถามหนี้ถึงสาเหตุของการติดต่อให้ผู้ทวงถามหนี้ชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับหนี้ได้เท่าที่จำเป็นและตามความเหมาะสม มาตรา 8 พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558

8. การทวงถามหนี้ในลักษณะที่เป็นเท็จ ห้ามเจ้าหนี้แสดงหรือการใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือเครื่องแบบที่ทำให้เข้าใจว่า เป็นการกระทำของศาล เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ มีโทษหนักตามาตรา 41 ซึ่งมีโทษทางอาญา ต้องระวางโทษต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือแม้แต่การแสดง หรือมีข้อความที่ทำให้ เชื่อว่าการทวงถามหนี้เป็นการกระทำโดยทนายความ หรือการแสดงหรือมีข้อความที่ทำให้เชื่อว่าจะถูกดำเนินคดี หรือจะถูกยึดหรืออายัดทรัพย์หรือเงินเดือน หรือดำเนินการให้แก่บริษัทข้อมูลเครดิต
9. ลักษณะที่ไม่เป็นธรรม การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ เกินกว่าอัตราที่คณะกรรมการกำหนด การเสนอหรือจูงใจให้ลูกหนี้ออกเช็คทั้งที่รู้อยู่ว่าลูกหนี้อยู่ในฐานะที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ มาตรา 13 พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 ซึ่งการฝ่าฝืนมาตรา 13 (2) มีโทษทางอาญา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับตามาตรา 39
อย่างไรก็ตามแม้ว่าการทวงหนี้ จะเป็นสิทธิ์โดยชอบธรรมที่เจ้าหนี้ สามารถทำได้อย่างถูกกฎหมาย แต่ด้วยข้อกฎหมายใหม่ที่ออกมา ก็ทำให้เกิดกระแสการวิพากษ์วิจารณ์กันในวงกว้าง ถึงการเอื้อผลประโยชน์ให้แก่ลูกหนี้จนเกิดไป นำไปสู่การเรียกร้องให้คุ้มครองเจ้าหนี้บ้างเช่นกัน
บทความแนะนำ 4 นิสัย ที่ทำให้คุณไม่ประสบความสำเร็จทางการเงิน! การวางแผนทางการเงิน จะช่วยให้เราไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ได้อย่างง่ายดายมากขึ้น